ดอกบานไม่รู้โรย Amaranth Flower.
#ดอกบานไม่รู้โรย, พระอาจารย์โอ พุทโธรักษา, พุทธสถานวิหารพระธรรมราช, จ.เพชรบูรณ์
"ดอกบานไม่รู้โรย" ชื่อนี้มันขลัง เป็นมงคลในตัว มีเสน่ห์เป็นที่จดจำ จะมีดอกไม้กี่ชนิดกัน ที่เพียงได้ยินชื่อแค่ครั้งเดียว แต่กลับติดอยู่ในมโนวิญญาณมิรู้ลืม ทั้งยังสวยงามน่าดูชม พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะพิเศษ ที่หาได้มีในบุษบาอื่นใดไม่ ดุจว่าเป็นอมตะ ประหนึ่งได้พรให้คงอยู่ชั่วนิจนิรันดร์ ไม่แห้งเหี่ยวร่วงโรยราเป็นเถ้าธุลี ตามวันเดือนปีที่แปรผัน สมนามขับขานว่า "บานไม่รู้โรย"
ด้วยคติความเชื่อนี้ "ดอกบานไม่รู้โรย" จึงเป็นของดีที่ครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อนเชื่อถือกันว่า ถ้านำมาเสกเป็นวัตถุมงคลอันสำเร็จแล้ว จะมีคุณวิเศษในด้านเมตตามหานิยมคือให้ "คนชมไม่รู้เบื่อ" ด้านมหาเสน่ห์ลุ่มหลงคือให้ "คนรักไม่รู้ลืม" ด้านโชคลาภโภคทรัพย์คือให้ "รวยไม่รู้เรื่อง" ด้านหนุนดวงยกชะตาคือให้ "เจริญงอกงามไม่รู้วาย" เป็นยอดบุปผาที่แม้แต่ท้าวมหาพรหมยังชื่นชมยินดี
พระอาจารย์โอปลุกเสกด้วยมนต์วิชา "พญาหงส์ทองทั้งคู่" อันเป็นวิชาลึกลับที่เป็นที่ปิดบังมาแต่โบราณ มีการสอดแทรกปริศนา บังเคล็ดกล ซ่อนเร้นองค์ความรู้ไว้อย่างแยบคาย เป็นเหตุให้น้อยคนนักจะสำเร็จแจ่มแจ้งในคุณวิชาและนำมาใช้ได้ โดยมากเมื่อเจอของยาก ก็จะท้อและถอยกันไปเสียก่อน
อย่างไรก็ดีถือว่าเป็นวาสนาของชนรุ่นหลัง ที่มีอาจารย์ผู้เฒ่าท่านหนึ่งได้สำเร็จวิชานี้ ถ้าเอ่ยนามท่านขึ้นมาไม่มีใครในวงการไสยเวทย์จะไม่รู้จัก ซึ่งในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ท่านได้ทำตะกรุดพญาหงส์ทองทั้งคู่ไว้รุ่นนึงแม้ตอนนั้นสุขภาพร่างกายท่านจะไม่แข็งแรงก็ตามที เพราะถือเป็นตะกรุดที่ท่านอยากสร้างให้สำเร็จสักครั้งในชีวิตตั้งแต่สมัยท่านเป็นหนุ่มๆแล้ว แต่ที่ท่านพึ่งสร้างได้เมื่อตอนไม้ใกล้ฝั่ง เพราะท่านพึ่งแจ่มแจ้งในวิชาพญาหงส์ทองทั้งคู่หลังจากใช้เวลาศึกษาค้นคว้ามาทั้งชีวิตนั่นเอง ว่ากันว่าตอนที่ท่านสำเร็จวิชานี้ ท่านถึงกับอุทานในลำคอยาวๆว่า "อ่อออออ" ประหนึ่งเหมือนผู้ที่พบคำตอบของคำถามที่พยายามแก้มาทั้งชีวิต
วิชาพญาหงส์ทองทั้งคู่ เป็นวิชาโบราณชั้นสูงที่หากจะกล่าวถึงต้นสายวิชา คงต้องอ้างอิงจากตำนานเมื่อครั้งสร้างโลกเลยทีเดียว ตำนานนั้นถูกเล่าขานกันมาจากรุ่นสู่รุ่นว่า กาลครั้งหนึ่งเมื่อโลกยังเต็มไปด้วยน้ำ หามีแผ่นดินใดยิ่งใหญ่พอให้สิ่งมีชีวิตอาศัยได้ไม่ มีพญาหงส์ทองคู่นึง ตัวผู้ชื่อว่า "พุท" ตัวเมียชื่อว่า "โธ" พญาหงส์ทองคู่นั้นได้คาบเอา "ดอกบานไม่รู้โรย" บินไปถึงพรหมโลก เพื่อนำดอกบานไม่รู้โรยไปบูชาท้าวสหัมบดีพรหม ซึ่งกว่าคู่พญาหงส์ทองจะบินไปถึงพรหมโลกก็ต้องใช้ระยะเวลานาน จึงมีเพียงแต่ดอกบานไม่รู้โรยเท่านั้นที่ยังคงเบ่งบาน งดงาม และคงทน ดุจว่าพึ่งถูกเด็ดมาเชยชม ไม่แห้งเหี่ยวโรยราบุบสลายเหมือนดอกไม้ชนิดอื่น
เมื่อพญาหงส์ทองคู่ได้บินมาถึงพรหมโลกและนำดอกบานไม่รู้โรยมาสักการะบูชาเบื้องหน้าท้าวสหัมบดีที่กำลังเข้าณานอยู่ ทันใดนั้นท้าวสหัมบดีพรหมก็ได้ตื่นจากฌานมารับบุหงามาลาสักการะจากพญาหงส์ทองคู่ ในระหว่างที่ท้าวสหัมบดีพรหมรู้สึกพึงใจพอใจในความงามดุจว่าอมตะของดอกบานไม่รู้โรยนั้น พลันก็เกิดนิมิตไปว่ามีดอกบัวผุดขึ้นมาจากเกษียรสมุทร5ดอก
ท้าวสหัมบดีพรหมจึงทราบว่าคงถึงคราวแล้วที่ภัทรกัปนี้จะมีพระพุทธเจ้าเสด็จมาจุติและตรัสรู้โปรดเวไนยสัตว์ถึง5พระองค์ จึงได้กล่าวโองการนมัสการขึ้นว่า "โองการพินธุนาถัง อุปปันนังพรหมา สะหะปะติ นามะอาทิกัปเป สุอาคะโต ปัญจะปะทุมัง ทิสวา นะโมพุทธายะ วันทะนัง" อันถือเป็นโองการแรก คาถาบทแรก โศลกแรก ที่เกิดขึ้นในโลกแห่งภัทรกัปนี้ก็ว่าได้
เมื่อท้าวสหัมบดีพรหมทอดพระเนตรมายังโลก ก็เห็นว่าในเวลานั้นทั้งโลกยังเต็มไปด้วยน้ำ มีแผ่นดินโผล่ขึ้นมาเพียงนิดเดียว แต่กลิ่นง้วนดินจากผืนดินที่พึ่งผุดขึ้นมากลับหอมหวลนัก จนแม้แต่บรรดาพรหมทั้งหลายที่อาศัยอยู่ ณ พรหมโลกก็ยังได้กลิ่นหอมอันนั้นชัดแจ้งราวกับง้วนดินอยู่ในพระนาสิก เป็นเหตุให้พรหมบางส่วนที่ทนกลิ่นอันหอมหวานที่ไม่เคยได้สัมผัสมานานแสนนานอดรนทนไม่ไหว ต้องเสด็จลงมากินง้วนดินที่ผืนแผ่นดินแรกของโลก
หลังจากพรหมเหล่านั้นได้กินง้วนดินจนอิ่มแล้ว ได้มีพรหมคู่นึงเสพสมกันจนให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "มนุษย์" ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก พรหมคู่นั้นจึงเป็นดั่งพ่อแม่คู่แรกของเผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ว่าได้ "ปิตาพรหม" ผู้เป็นพ่อคนแรกของโลกจึงได้ชื่อตามพญาหงส์ทองตัวผู้ว่า "พุท" ส่วน "มาตาพรหม" ผู้เป็นแม่คนแรกของโลกจึงได้ชื่อตามพญาหงส์ทองตัวเมียว่า "โธ" สำนวนที่ว่า "พ่อแม่เป็นพรหมของลูก" ก็มีเค้าโครงที่มาจากตำนานเรื่องนี้
ด้วยนิมิตมูลเหตุแห่งตำนานที่กล่าวมาข้างต้น ดอกบานไม่รู้โรยและพญาหงส์ทองคู่จึงมีความเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ซึ่งดอกบานไม่รู้โรยที่พระอาจารย์โอได้นำมาสร้างเป็นวัตถุมงคล ผนวกกับตำราวิชาพญาหงส์ทองคู่ที่ท่านร่ำเรียนมา จะต้องเป็นดอกบานไม่รู้โรยสีขาว ต้นขาว ก้านขาวเท่านั้น ประจวบเหมาะกับดอกบานไม่รู้โรยที่พระอาจารย์โอได้มาตรงตามตำราพอดี เพราะเป็นดอกบานไม่รู้โรยจากต้นพันธุ์ดั้งเดิมที่ต้นขาว ก้านขาว ดอกขาว สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เท่าที่สืบค้นได้เดิมทีเป็นพันธุ์ของ "อาจารย์ไสว พรหมอินทร์" ตกทอดมายัง "อาจารย์หม่อง บางระมาด" แล้วจึงตกทอดมายังท่านพระอาจารย์โอ พุทโธรักษา
โดยวิชาการทำดอกบานไม่รู้โรย มีอยู่ในหลายสำนัก แต่ละสำนักก็ต่างที่มากัน แต่ตำรับของพระอาจารย์โอท่านมีที่มาแบบนี้ อาจจะไม่มีที่มาเหมือนที่อื่น ท่านว่าส่วนมากคนบอกไม่รู้ คนรู้ไม่พูด ของดีที่ควรจะได้ขับขานเลยค่อยๆคลาดเคลื่อนและสูญหายไปตามกาลเวลา เลยยังคงมีอีกหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้ที่ยังคงต้องเป็นความลับต่อไป
แผ่นยันต์รองรับดอกบานไม่รู้โรย ที่ถูกพับให้เป็นดั่งดอกบัวเบ่งบานอยู่พ้นน้ำ พระอาจารย์โอได้ลงด้วย "ยันต์พญาหงส์ทองทั้งคู่" ในตำรากล่าวไว้ว่า "อย่าทำใจร้อน อย่าได้อาวร ครูเก่าก่อนเคยได้ใช้มาแล้ว เป็นเมตตา มหาเสน่ห์ มหานิยม ดีนักแล" นอกจากนี้ท่านยังได้ลงยันต์ที่เป็นสุดยอดความลับอีกตัวกำกับเสริมทัพไว้ด้วยเรียกว่า "หงส์ทองจินดามณี"
ส่วนตะกรุดอีกสองดอกนั้น ดอกนึงลงด้วย "หัวใจพญาหงส์ทองตัวผู้ (พุท)" ให้พุทพ่ออยู่กับลูก อีกดอกลงด้วย "หัวใจพญาหงส์ทองตัวเมีย (โธ)" ให้โธแม่ช่วยลูกด้วย
Amaranth Flower by Phra Arjarn O, Phetchabun.
"Amaranth Flower", this name is magical, auspicious and charming to remember itself. Because its Thai name is "Ban Mai Ru Roy" which means "Endless Blooming Flower" that is always blossom, beautiful, and fresh. Whoever hears its name only once will never forget. It's beautiful to look at and also full with special features which cannot be found in any other flowers, as if it is immortal, as if it is blessed to live forever, not withered as time passes.
With this belief, "Amaranth Flower" is a natural good thing that old teachers believed that if bring it to bless correctly to be a sacred amulet successfully, it will has magical powers in case of reputation to spell everyone to "Admire Without Boredom", in case of charm to enchant everyone to "Love Without Forgetfulness", in case of fortune to be "Rich Without Difficulty", in case of supporting destiny to be "Flourishing Without Fail". Therefore, "Amaranth Flower" is the top of the flower that even the Great Brahma rejoices.
Phra Arjarn O blessed this amulet with magic of "Golden Swan Couple" which is a mysterious subject that has been hidden since ancient times. There are many puzzles, tricks, and secrets about this magic subject. This is why very few people are able to achieve clarity in this subject matter until can apply it to real use. Mostly, when novice magic masters encounter difficult things, they will be discouraged and retreat before.
For the talisman silver sheet supports the Amaranth flower that was folded into a flower shaped Takrud like as the lotus flower blooming beyond the water surface, Phra Arjarn O wrote it with "Golden Swan Couple Yant". In the textbook says "Don't Be Impatient, Don't Be Arrogant, Old Teachers Who Has Used This Subject Before Already Proved That It Is Very Excellent In Case Of Great Charm & Great Popularity As Well". In addition, Phra Arjarn O also wrote another super-secret Yant that directly empower the flower shaped Takrud with "Jindamanee Golden Swan (Hongthong Jindamanee)".
For the other two Takruds, one was written with "Heart Of Father Golden Swan (Phut)" which represents the father who always take care his child. Another one was written with "Heart Of Mother Golden Swan (Tho)" which represents the mother who always support her child.
